วิธีการทำงานของกลุ่มสานสายใยชีวิต SOS

 

      เมื่อSOSได้รับการร้องขอให้ช่วยแก้ไขปัญหาสัตว์จรจัดในพื้นที่ชุมชนต่างๆอาสาสมัครSOSจะเข้าไปปฏิบัติงานดังนี้

1.  สำรวจจำนวนสัตว์ที่ยังไม่ได้ทำหมันในพื้นที่นั้น หาจุดยืนในพื้นที่นั้น คือตัวบุคคลที่ดูแลให้ข้าวสัตว์บริเวณนั้นๆ

 

2. สำรวจจำนวนสัตว์ทั้งที่ทำหมันแล้วและยังไม่ได้ทำหมัน การจับสัตว์บางครั้งต้องใช้ลูกดอกยาสลบ

จับสุนัข จับสุนัข2

 3. กำหนดวันไปรับสัตว์     มีพาหนะพร้อมกรงสำหรับจับสัตว์มาเตรียมอดข้าว อดน้ำที่ศูนย์ SOS เพื่อรอทำหมันที่เทศบาลหรือศูนย์ควบคุมพิษสุนัขบ้าดินแดง

ขนย้าย1 ขนย้าย2

4. เมื่อทำหมันและฉีดวัคซีนพิษสุนัขบ้าแล้วจะส่งสัตว์ทุกตัวกลับไปพักฟื้นที่ศูนย์พักฟื้นของ SOS

homeC1 homeC2

5. ให้การรักษาสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคต่างๆเช่น โรคเรื้อน มะเร็งเพศ ถ่ายพยาธิก่อนส่งกลับถิ่นเดิมให้ผู้ที่รักสัตว์ในชุมชนดูแลต่อไป

replay1 replay

6. เพื่อประชาสัมพันธ์การทำงานของ SOS ให้ชุมชนเกิดความเข้าใจในการควบคุมและแก้ปัญหาสัตว์จรจัด อาสาสมัครจะสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนต่างๆ ที่ขอความร่วมมือ และชุมชนใกล้เคียง  SOSได้ทำการทำหมันสัตว์จรจัดแล้ว เช่น วัดพรมรังษี วัดไผ่เขียว วัดสีกัน วัดอาวุธจรัญ 72 วัดนวล วัดนางชี วัดมะพร้าวเตี้ย วัดราษฎรบำรุง วัดอมรา วัดไผ่ตัน วัดบึงทองหลาง วัดทุ่งลานนา วัดตะกล่ำ วัดสุวรรณประสิทธิ์ วัดนิมานรดีบางแค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ สวนลุมพินี โลตัสบางแค ตลาดบางแค โลตัสพระราม 4 สถาบันราชภัฏพระนครเเละบริเวณสถานที่ใกล้ๆศูนย์ควบคุมพิษสุนัขบ้าดินแดง

PR1 PR2

กลุ่มSOSดูแลและควบคุมจำนวนประชากรสัตว์ในสถานที่ดังกล่าวโดยการทำหมันและดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและยังได้มีโอกาศรับวัคซีนพิษสุนัขบ้าจากเทศบาลไปบริการให้กับชุมชนนั้นๆและขยายการปฎิบัติงานไปถึงชุมชนข้างเคียงต่อๆไปด้วย

 

นอกจากนี้SOSยังมีโครงการหาบ้านให้สัตว์เพื่อเป็นการลดจำนวนสัตว์ในที่สาธารณะทั่วๆไป

 

การรักษาสัตว์ป่วย สัตว์จะต้องมีสุขภาพที่ดี ก่อนส่งกลับถิ่นเดิม โรคที่สัตว์เป็นมากคือ หวัด มะเร็งเพศ SOSช่วยเหลือด้วยการออกค่าใช้จ่ายให้กับคนที่ขาดทุนทรัพย์นำสัตว์มาหาหมอที่ กทม.และยังประสานขอความร่วมมือจากองค์กรต่างๆเช่น คณะสัตว์แพทย์จุฬาฯ โรงพยาบาลสัตว์อรรถพงษ์    คลีนิคสงเคราะห์สัตว์ คลีนิคบ้านหมาเอื้ออาทรสัตว์แพทย์ พิสิษฐ์สัตว์แพทย์ เนื่องจากองค์กรเหล่านี้ให้ความร่วมมือในการรักษาพยาบาลในราคาย่อมเยา  (หมายเหตุในเวลา 1 ปีSOSได้นำสัตว์เป็นมะเร็งเพศไปรักษาแล้ว 100 ตัว)

replay3 replay4

ชุมชนร้องขอ  SOSจะเข้าไปปฏิบัติงานเมื่อมีผู้ร้องขอให้ช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ เมื่อสัตว์ในชุมชนป่วยหรือจำนวนเพิ่มขึ้น อาหารไม่พอเพียง มีปัญหาสุนัขกัดคนและปัญหาความสกปรกทำให้เกิดมีการทะเลาะเบาะแว้งสถานที่เหล่านี้มีทั้งในส่วนของเอกชนและภาครัฐเช่น สวนลุมพินีและบริเวณรอบข้าง บริเวณโรงกรองน้ำดินแดง สาธารณะสุขบางแคซึ่งมีพื้นที่ติดต่อกับศูนย์บำรุงซ่อมแซมถนนของ กทม.และในสถานที่อื่นๆและชุมชนต่างๆ

 

การควบคุมจำนวนสัตว์จะทำให้มีโอกาศที่สัตว์จะอยู่ต่อไปได้ในบริเวณดังกล่าว โดยไม่สร้างความเดือดร้อนและความไม่สงบ เป็นการลดภาระให้กทม. ที่ต้องมาจัดการ หรือนำสัตว์ไปดูแลเอง

 

         องค์กรที่ให้ความอนุเคราะห์ในการทำหมัน

  • กทม.
  • คณะสัตว์แพทย์จุฬาฯ

  องค์กรที่ให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาในชุมชนของตน

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและบุคลากรในจุฬาฯ
  • ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่

องค์กรที่ให้การสนับสนุนทั่วไป

-สมาคมสงเคราะห์สัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์
-ชมรม MY LOVE GOLDEN
-บริษัท NS (สนับสนุนอาหารสัตว์เป็นครั้งคราว)
-กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน

 

     ในกรณีที่ชุมชนไม่มีค่าใช้จ่าย สมาชิก SOSจะจัดงบให้และในปัจจุบันกลุ่มSOSปฏิบัติงานต่อเนื่อง โดยนำสัตว์เข้ารับการทำหมันที่ศูนย์ควบคุมพิษสุนัขบ้าดินแดงประมาณ 60 ตัว/ 1อาทิตย์ โดยได้รับการสนับสนุนนำสัตว์มาพักรอชั่วคราวในบริเวณของศูนย์ฯเพื่อรอการทำหมันในวันต่อไป ทำให้ปริมาณการทำหมันได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น